กิจกรรม 24 - 28 มกราคม 2554

กิจกรรม 24 - 28 มกราคม 2554 คะแนน 100 คะแนน







ตอบข้อ  3.

อธิบาย :

วิธีการกำจัดขยะมูลฝอย ( Method of Refuse Disposal ) มีหลายวิธีด้วยกัน เป็นวิธีที่ดีถูกสุขลักษณะบ้างไม่ถูกสุขลักษณะบ้าง เช่น นำไปกองไว้บนพื้นดิน, นำไปทิ้งทะเล, นำไปฝังกลบ, ใช้ปรับปรุงพื้นที่, เผา, หมักทำปุ๋ย, ใช้เลี้ยงสัตว์ ฯลฯ การจัดการและการกำจัดขยะ แต่ละวิธีต่างมีข้อดีข้อเสียต่างกัน การพิจารณาว่าจะเลือกใช้วิธีใดต้องอาศัยองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ที่สำคัญ คือ ปริมาณของขยะที่เกิดขึ้น รูปแบบการบริหารของท้องถิ่น, งบประมาณ, ชนิด – ลักษณะสมบัติของขยะมูลฝอย, ขนาด สภาพภูมิประเทศของพื้นที่ที่จะใช้กำจัดขยะมูลฝอย, เครื่องมือเครื่องใช้, อาคารสถานที่, ความร่วมมือของประชาชน, ประโยชน์ที่ควรจะได้รับ, คุณสมบัติของขยะ เช่น ปริมาณของอินทรีย์ อนินทรีย์สาร การปนเปื้อนของสารเคมีที่มีพิษและเชื้อโรค ปริมาณของของแข็งชนิดต่าง ๆ ความหนาแน่น ความชื้น
          ขยะที่เกิดขึ้นในชุมชนเมืองมีแหล่งที่มาจาก อาคาร บ้านเรือน บริษัท ห้างร้าน โรงงาน อุตสาหกรรม โรงพยาบาล ตลาด และสถานที่ราชการ ขยะที่ทิ้งในแต่ละวันจะประกอบด้วยเศษอาหาร กระดาษ เศษแก้ว เศษไม้ พลาสติก เศษดิน เศษหิน ขี้เถ้า เศษผ้า และใบไม้ กิ่งไม้ โดยมีปริมาณของสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ในอัตราส่วนที่แตกต่างกัน





 ตอบข้อ  1.

อธิบาย :

การถ่านโอนความร้อน(heat transfer)เกิดขึ้นเมื่อวัตถุที่อยู่ใกล้กันมี

อุณหภูมิแตกต่างกัน

วัตถุที่มีอุณหภูมิสูงกว่า อณูของมันจะมีพลังงานจลน์เฉลี่ยมากกว่าด้วย

เวลาสัมผัสกับวัตถุที่เย็นกว่า อณูจะมีการถ่ายโอนพลังงานจลน์ ณ บริเวณที่สัมผัสกัน



ตัวอย่างเช่นช่วงนี้อากาศเริ่มเย็น เรารู้สึกหนาว เพราะ อณูที่ผิวหนังเรามีพลังงานจลน์มากกว่าโมเลกุลอากาศรอบ ๆ ดังนั้นเราจึงสูญเสียพลังงานจลน์ให้อากาศมากกว่าในหน้าร้อน กลไกทางชีววิทยาของสัตว์เลือดอุ่น ต้องรักษาอุณหภูมิให้คงที่ จึงทำให้เกิดอาการ(หนาว)สั่นขึ้นเพื่อเพิ่มระดับพลังงานจลน์ขึ้นให้เท่าเดิม


ที่มา:  http://www.vcharkarn.com/vcafe/13025



 ตอบข้อ  4.

อธิบาย :

อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี

อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี (rate of chemical reaction) หมายถึง ปริมาณของสารใหม่ที่เกิดขึ้นในหนึ่งหน่วยเวลาหรือปริมาณของสารตั้งต้นที่ลดลงในหนึ่งหน่วยเวลา
ชนิดของอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
  • อัตราการเกิดปฏิกิริยาเฉลี่ย (average rate) หมายถึง ปริมาณของสารใหม่ที่เกิดขึ้นทั้งหมดในหนึ่งหน่วยเวลา
  • อัตราการเกิดในปฏิกิริยาขณะใดขณะหนึ่ง (instantaneous rate) หมายถึง ปริมาณของสารที่เกิดขึ้นขณะใดขณะหนึ่งในหนึ่งหน่วยเวลาของช่วงนั้น ซึ่งมักจะหาได้จากค่าความชันของกราฟ

ที่มา: http://pirun.ku.ac.th/~g4886063/content1.htm



 ตอบข้อ  2.

อธิบาย :

ปฏิกิริยาเคมี (chemical reaction) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิดสารใหม่ มีสมบัติต่างจากสารเดิม สารก่อนการเปลี่ยนแปลงเรียกว่า สารตั้งต้น (reactant) และสารที่เกิดใหม่เรียกว่า ผลิตภัณฑ์ (product)
ในขณะที่เกิดปฏิกิริยาเคมี นอกจากได้สารใหม่แล้วยังอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านอื่นๆ อีกได้ เช่น การเปลี่ยนแปลงพลังงาน
ตัวอย่างการเกิดปฏิกิริยาเคมีที่น่าสนใจเช่น
เมื่อนำลวดแมกนีเซียมใส่ลงในสารละลายกรดไฮโดรคลอริก เป็นปฏิกิริยาระหว่างโลหะ (แมกนีเซียม) กับกรด (กรดไฮโดรคลอริก) สารทั้งสองจะทำปฏิกิริยากัน





 ตอบข้อ  4.

อธิบาย :

X อยู่หมู่ 7 คาบ 4 มีการจัดอิเล็กตรอนดังนี้ 2,8,18,7 ดังนั้น X- มีการจัดอิเล็กตรอนดังนี้ 2,8,18,8


ที่มา:  http://www.lks.ac.th/student/kroo_su/chem51/chem51_2/an101-150.htm








 ตอบข้อ  1.

อธิบาย :


ฟอสฟอรัสอยู่ในกลุ่มไนโตรเจน มีวาเลนซ์ได้มาก ปรากฏในหลายอัลโลโทรป พบทั้งในหินฟอสเฟต และเซลล์สิ่งมีชีวิตทุกเซลล์ (ในสารประกอบในดีเอ็นเอ) เนื่องจากสามารถทำปฏิกิริยาได้สูง จึงไม่ปรากฏในรูปอิสระในธรรมชาติ

ที่มา:   http://dekbanna.ob.tc/-View.php?N=45




 ตอบข้อ  3.

อธิบาย :

สัญลักษณ์นิวเคลียร์ (nuclear symbol) เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงจำนวนอนุภาคมูลฐานของอะตอมด้วยเลขมวลและเลขอะตอม เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ดังนี้
โดยที่  X  คือ  สัญลักษณ์ธาตุ
            Z  คือ  เลขอะตอม (atomic number) เป็นจำนวนโปรตอนในนิวเคลียส
            A  คือ  เลขมวล (mass number) เป็นผลบวกของจำนวนโปรตอนกับนิวตรอน
สูตร   A = Z + N
โดยที่ N เป็นจำนวนนิวตรอน อะตอมของธาตุเป็นกลางทางไฟฟ้า (จำนวนโปรตอน = จำนวนอิเล็กตรอน)




 ตอบข้อ  2.

อธิบาย :

สมบัติของสารประกอบไอออนิก     จากลักษณะการสร้างพันธะไอออนิกซึ่งมีแรงยึดเหนี่ยวต่อเนื่องกันเป็นผลึก และลักษณะอะตอมของธาตุที่มีประจุเป็นไอออนบวกและไอออนลบรวมกันอยู่  ส่งผลให้สารประกอบไอออนิกมีสมบัติต่าง ๆ ดังนี้
     1.  สารประกอบไอออนิกจะมีจุดหลอมเหวและจุดเดือดที่สูง เนื่องจากพันธะไอออนิกเกิดจากแรงยึดเหนี่ยวของประจุไฟฟ้าซึ่งมีความแข็งแรงสูง ยากต่อการทำให้แยกออกจากกัน อีกทั้งยังมีลักษณะการยึดเหนี่ยวที่ต่อเนื่องกันผลึก การที่จะทำให้สารประกอบไอออนิกเปลี่ยนสถานะจึงต้องอาศัยพลังงานจำนวนมากในการทำลายแรงยึดเหนี่ยว ดังนั้นสารประกอบไอออนิกจึงมีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดที่สูงกว่าสารประกอบโคเวเลนต์
     2.  สมบัติที่สำคัญอีกประการของสารประกอบไอออนิก คือ เมื่อเป็นของแข็งจะไม่นำไฟฟ้า แต่จะนำไฟฟ้าได้ดีเมื่ออยู่ในสถานะของเหลวหรือเมื่ออยุ่ในสภาพของสารละลาย เนื่องจากในสถานะของแข็งไอออนต่าง ๆ ซึ่งมีประจุไฟฟ้าจะถูกยึดเหนี่ยวกันอย่างเหนียวแน่น แต่เมื่อนำไปหลอมเหลวหรือนำไปละลายน้ำ โครงผลึกจะหลุดออกเสียสภาพไปทำให้ไอออนสามารถเคลื่อนที่ไปมาได้ สารประกอบไอออนิกจึงสามารถนำไฟฟ้าได้


ที่มา:  http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=3059




 ตอบข้อ  1.

อธิบาย : 

A2B AC BC2

ที่มา:  www.lks.ac.th/student/kroo_su/chem51/...2/201-250.htm




 ตอบข้อ  3.

อธิบาย :

การถนอมอาหารโดยใช้วิธีการทางกายภาพ ได้แก่

                            การใช้ความร้อน (Heating) เพื่อทำลายจุลินทรีย์ และเอนไซม์ การใช้ความร้อนแบ่งตามระดับความร้อนได้ 2 วิธี คือ “การใช้ความร้อนสูง” เรียกว่า การสเตอริไลส์ (Sterilization) สามารถทำลายจุลินทรีย์ในอาหารได้หมด และ “การใช้ความร้อนต่ำ” เรียกว่า การพาสเจอไรส์ (Pasteurization) ซึ่งทำลายจุลินทรีย์ได้เพียงบางส่วน ในการพิจารณาว่าจะใช้ความร้อนขั้นใดในการถนอมอาหาร จำเป็นต้องทราบชนิดของจุลินทรีย์ที่อยู่ในอาหารดังกล่าว รา ยีสต์ และแบคทีเรียส่วนใหญ่จะตายที่อุณหภูมิต่ำกว่าจุดเดือดของน้ำ คืออุณหภูมิระหว่าง 60 ถึง 85 องศาเซลเซียส แต่มีแบคทีเรียบางชนิดสามารถทนความร้อนได้สูงขึ้นโดยการสร้างสปอร์ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องทำลายสปอร์ด้วยการใช้ความร้อนสูง เป็นต้น อาหารที่ถนอมโดยวิธีการใช้ความร้อน เช่น การทำเครื่องดื่มบรรจุขวด การทำอาหารบรรจุกระป๋อง เป็นต้น




ที่มา:  http://sites.google.com/site/phupharuk/home/withyasastr-laea-thekhnoloyi-dan-kar-paerrup-xahar/krabwnkar-thang-withyasastr-kab-kar-paerrup-xahar
 

1 ความคิดเห็น: