17-21 มกราคม 2554



17-21 มกราคม 2554

ตอบ...2 หินงอกหินย้อย+เผากระดาษ
หินงอก - หินย้อย หินงอกคือหินที่งอกจากพื้น

หินย้อย คือหินที่ย้อยลงมาจากด้านบน
เกิดมากโดยเฉพาะภูเขาหินปูน(CO2 ) ซึ่งละลายในน้ำฝนกลายเป็นกรดคาร์บอนิก(H2CO3)
ไหลไปตามก้อนหินและทำปฏิกิริยากับแคลเซียมตาร์บอเนตที่มีอยู่ในหินปูน เกิดเป็นสารละลายแคลเซียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต ซี่งไหลไปตามพื้นถนังถ้ำ เมื่อน้ำระเหยหมดก็เหลือตะกอน
สะสมเป็นหินงอกหินย้อย จัดเป็นการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก แบบช้าๆ
http://variety.teenee.com/science/1718.html


 ตอบ...4
เมื่อนำลวดแมกนีเซียมใส่ลงในสารละลายกรดไฮโดรคลอริก เป็นปฏิกิริยาระหว่างโลหะ (แมกนีเซียม) กับกรด (กรดไฮโดรคลอริก) สารทั้งสองจะทำปฏิกิริยากัน เกิดการเปลี่ยนแปลงได้สารใหม่เกิดขึ้นดังสมการ

เขียนเป็นสัญลักษณ์ของธาตุและสารประกอบในปฏิกิริยาได้ดังนี้
Mg = แมกนีเซียม
HCl = กรดไฮโดรคลอริก (กรดเกลือ)
MgCl2 = แมกนีเซียมคลอไรด์
H2 = ไฮโดรเจน

 ตอบ...4
ก๊าซไนตริกออกไซด์ (NO)    เป็นก๊าซเฉื่อยมีคุณสมบัติเป็นยาสลบ เป็นก๊าซ
ไม่มีสีและไม่มีกลิ่น  ในธรรมชาติทั่วไปพบในปริมาณน้อยกว่า 0.5 ppm.ละลายน้ำได้เล็กน้อย ส่วนไนโตรเจนไดออกไซด์ ( NO2) เป็นก๊าซสีน้ำตาล ถ้ามีจำนวนมากจะมองเห็น  ก๊าซทั้งสองชนิดจะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติิได้แก่ ฟ้าผ่า ฟ้าแลบ ภูเขาไฟระเบิด หรืออาจเกิดจากกลไกของจุลินทรีย์ และนอกจากนี้อาจเกิดจากมนุษย์เช่น จากอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมผลิตกรดไนตริก และกรดกำมะถัน และโรงงานผลิตวัตถุระเบิด และการเผาไหม้เของเครื่องยนต์ เป็นต้น          
           ก๊าซไนตริกออกไซด์ทำปฏิกิริยากับโอโซนในบรรยากาศจะเกิดเป็นไนโตเจนไดออกไซด์และออกซิเจนในทางตรงกันข้าม เมื่อมีแสงแดดจะทำให้ไนโตรเจนออกไซด์เกิดปฏิกิริยาผันกลับ

ซัลเฟอร์ออกไซด์   (SOx)  ออกไซด์ซัลเฟอร์ประกอบด้วย  SO2  และ  SO3 โดยทั่วไปมักเขียนแทน
ซัลเฟอร์ออกไซด์ ด้วย SOxเป็นก๊าซไม่มีสี ไม่ติดไฟ  มีกลิ่นแสบจมูก  ละลายได้ดีในน้ำโดยจะเปลี่ยนเป็นกรดซัลฟูริก  ในธรรมชาติทั่วไปจะมีปริมาณน้อยในบรรยากาศคือ 0.02 - 0.1 ppm. แต่ถ้าพบในปริมาณสูงแล้ว ส่วนมากจะเกิดจากการเผาไหม้  โดยใช้เชื้อเพลิงหรือวัสดุที่มีกำมะถันเป็นส่วนประกอบปฏิกิริยาการเกิดซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ถ้า SO2ทำปฏิกริยากับ O2ในอากาศจะได้ SO3 ยิ่งถ้าในบรรยากาศมีตัวเร่งปฏิกิริยาเช่น มังกานีส เหล็กหรือกลุ่ม metallic oxide จะทำ ให้ปฏิกริยาเร็วขึ้น ถ้าในบรรยากาศ   มีละอองน้ำหรือความชื้นสูง SO2จะเกิดการรวมตัวเป็นฝนกรด  (acid rain) ซึ่งจะส่งผลกระทบ
ต่อระบบนิเวศ ป่าไม้ แหล่งน้ำ สิ่งมีชีวิตและมีฤทธิ์กัดกร่อนอาคาร

http://www3.ipst.ac.th/research/assets/web/mahidol/ecology(3)/chapter2/chapter2_airpolution5.htm

 ตอบ...1
ไอโซโทป (อังกฤษ: isotope) คืออะตอมต่าง ๆ ของธาตุชนิดเดียวกัน ที่มีจำนวนโปรตอนหรือเลขอะตอมเท่ากัน แต่มีจำนวนนิวตรอนต่างกัน ส่งผลให้เลขมวลต่างกันด้วย และเรียกเป็นไอโซโทปของธาตุนั้น ๆ. ไอโซโทปของธาตุต่าง ๆ จะมีสมบัติทางเคมีฟิสิกส์เหมือนกัน ยกเว้นสมบัติทางนิวเคลียร์ที่เกี่ยวกับมวลอะตอม เช่น ยูเรเนียม มี 2 ไอโซโทป คือ ยูเรเนียม-235 เป็นไอโซโทปที่แผ่รังสี และยูเรเนียม-238 เป็นไอโซโทปที่ไม่แผ่รังสี
http://www.blogger.com/page-edit.g?blogID=2563847772041991939

 ตอบ...2
วิธีการจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม


 ตอบ...3
วาเลนซ์อิเล็กตรอน (อังกฤษ:valance electrons) ในทาง วิชาเคมี คือ อิเล็กตรอน ที่อยู่ในวงโคจรของ อิเล็กตรอน ชั้นนอกสุดของอะตอม อิเล็กตรอน เหล่านี้จะมีส่วนร่วมใน ปฏิกิริยาเคมี ด้วย ธาตุที่มีอิเล็กตรอน ชั้นนอกสุดเต็มมักจะไม่ไวต่อปฏิกิริยา ส่วนธาตุที่มี อิเล็กตรอน ชั้นนอกสุดเกือบเต็มหรือเกือบว่างเช่นโลหะอะคาไล และ ฮาโลเจน จะมีความไวต่อปฏิกิริยา
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B8%8B%E0%B9%8C%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%99

 ตอบ...3
โมเลกุล
โมเลกุล (molecule) คือ อนุภาคที่เล็กที่สุดของสาร ซึ่งสามารถอยู่ได้อย่างอิสระในธรรมชาติ และสามารถแสดงสมบัติเฉพาะตัวของสารนั้นได้ โมเลกุลเกิดจากอะตอมตั้งแต่ 2 อะตอมขึ้นไปมารวมกันในทางเคมี เมื่อพิจารณาถึงชนิดของอะตอมที่มารวมกันสามารถจำแนกโมเลกุลได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. โมเลกุลของธาตุ ประกอบด้วยอะตอมชนิดเดียวกันมารวมกัน ตัวอย่างเช่น
- แก๊สไนโตรเจน (N2) ประกอบด้วยไนโตรเจน 2 อะตอม
- แก๊สไฮโดรเจน (H2) ประกอบด้วยไฮโดรเจน 2 อะตอม
- แก๊สออกซิเจน (O2) ประกอบด้วยออกซิเจน 2 อะตอม
- กำมะถัน (S8) ประกอบด้วยซัลเฟอร์ 8 อะตอม
2. โมเลกุลของสารประกอบ ประกอบด้วยอะตอมต่างชนิดกันมารวมกัน ตัวอย่างเช่น
- น้ำ (H2O) ประกอบด้วยไฮโดรเจน 2 อะตอม และออกซิเจน 1 อะตอม
- แอมโมเนีย (NH3) ประกอบด้วยไนโตรเจน 1 อะตอม และไฮโดรเจน 3 อะตอม
- กรดคาร์บอนิก (H2CO3) ประกอบด้วยไฮโดรเจน 2 อะตอม คาร์บอน 1 อะตอม และออกซิเจน 3 อะตอม
- แอมโมเนียมไฮดรอกไซด์ (NH4OH) ประกอบด้วยไนโตรเจน 1 อะตอม ไฮโดรเจน 5 อะตอม และออกซิเจน 1 อะตอม
http://www.maceducation.com/e-knowledge/2412212100/11.htm

 ตอบ...2
  • หมู่ 1A ลิเทียม (Lithium) โซเดียม (Sodium - Natrium) โพแทสเซียม (Potassium - Kalium) รูบิเดียม (Rubidium) ซีเซียม (Cesium) แฟรนเซียม (Francium)
  • หมู่ 2A เบริลเลียม (Beryllium) แมกนีเซียม (Magnesium) แคลเซียม (Calcium) สตรอนเทียม (Strontium) แบเรียม (Barium) เรเดียม (Radium)
  • หมู่ 3A โบรอน (Boron) อะลูมิเนียม (Aluminum) แกลเลียม (Gallium) อินเดียม (Indium) แทลเลียม (Thallium)
  • หมู่ 4A คาร์บอน (Carbon) ซิลิกอน (Silicon) เจอร์เมเนียม (Germanium) ดีบุก (Tin - Stannum) ตะกั่ว (Lead - Plumbum)
  • หมู่ 5A ไนโตรเจน (Nitrogen) ฟอสฟอรัส (Phosphorous) อะซินิค (สารหนู) (Arsenic) พลวง (Antimony - Stibium) บิสมัท (Bismuth)
  • หมู่ 6A ออกซิเจน (Oxygen) ซัลเฟอร์ (กำมะถัน) (Sulfur) ซีลีเนียม (Selenium) เทลลูเรียม (Tellurium) โพโลเนียม (Polonium)
  • หมู่ 7A ฟลูออรีน (Fluorine) คลอรีน (Chlorine) โบรมีน (Bromine) ไอโอดีน (Iodine) แอสทาทีน (Astatine)
  • หมู่ 8A ฮีเลียม (Helium) นีออน (Neon) อาร์กอน (Argon) คริปตอน (Krypton) ซีนอน (Xenon) เรดอน (Radon)
ยกเว้น ไฮโดรเจน เพราะยังถกเถียงกันอยู่ว่าจะจัดลงไปที่หมู่ 1 หรือ 7 ดี เพราะคุณสมบัติเป็นกึ่ง ๆ กัน ระหว่าง 1A กับ 7A และธาตุประเภททรานซิชัน โดยทั่วไป ไม่แนะนำให้จำ แต่อาศัยดูตารางเอา และควรจำคุณสมบัติของธาตุที่สำคัญ ๆ ให้ได้ หรืออาจจะใช้หลักการในการท่องให้ง่ายขึ้น เช่นการใช้ตัวย่อของแต่ละคำมารวมกันเป็นประโยคที่จำง่าย ๆ ซึ่งจะทำให้จำได้ไวขึ้น
http://www.blogger.com/page-edit.g?blogID=2563847772041991939

ตอบ...3
ครึ่งชีวิต (Half life) หมายถึง ระยะเวลาที่ปริมาณของสารกัมมันตรังสีสลายตัวจนเหลือครึ่งหนึ่งของปริมาณเริ่มต้น เช่น S-35 มีครึ่งชีวิต 87 วัน ถ้ามี S-35 อยู่ 8 กรัม เมื่อเวลาผ่านไป 87 วัน จะเหลืออยู่ 4 กรัม และเมื่อเวลาผ่านไปอีก 87 วัน จะเหลือ 2 กรัม ถ้าเริ่มต้นจาก 1 กรัม เมื่อเวลาผ่านไป 87 วัน จะเหลืออยู่ 0.5 กรัม และเมื่อผ่านไป 87 วัน จะเหลืออยู่ 0.25 กรัม C-14 มีครึ่งชีวิต 5730 ปี ถ้ามี C-14 อยู่ 5 กรัม เมื่อเวลาผ่านไป 5730 ปี จะเหลืออยู่ 2.5 กรัม และเมื่อผ่านไปอีก 5730 ปี จะเหลือ 1.25 กรัม เป็นต้น
ครึ่งชีวิตเป็นสมบัติเฉพาะตัวของแต่ละไอโซโทป และสามารถใช้เปรียบเทียบอัตราการสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสีแต่ละชนิดได้ ดัวอย่างครึ่งชีวิตของไอโซโทปกัมมันตรังสีบางชนิด
http://203.114.105.84/virtual/Virtual%20IE/science/kumman/61.19.145.7/student/science401/chem/chem11/main4.html

1 ความคิดเห็น: